วันพฤหัสบดีที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2560

HS7JJY (SK)


HS7JJY (SK)
ด้วยรักและอาลัยยิ่ง ขอให้พี่น้อยไปสู่ภพภูมิที่ดียิ่งๆขึ้นไป
DE E22RBV

ขอบคุณในทุกๆสิ่ง ที่พี่สร้างสรรค์ไว้ให้กับน้องๆรุ่นหลัง

เก็บภาพจากมุมกล้อง HS7JJY




วันอาทิตย์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2559

มาสร้างประกอบวงจร cw zero beat indicator ใช้กัน

ในช่วงแรกๆของการฝึกฟัง หรือฝึกติดต่อกับเพื่อนนักวิทยุด้วยโหมด CW ปัญหาที่พบคือ การปรับความถี่ให้ตรงกับคู่สถานี หรือสถานีที่เรากำลังฟังใช้ความถี่ใดกัน  แต่สำหรับบางท่านที่มีความชำนาญเพิ่มมากขึ้น ก็จะสามารถแยกแยะ ด้วยการฟังโทนเสียงตามที่มีการตั้งค่าไว้ตามฟังกชั่น
ของเครื่องวิทยุแต่ละรุ่นที่มีมาให้ 

ตย. ที่มาของชิ้นงาน: http://hs8jyx.blogspot.com/2015/04/cw-zero-beat-indicator.html 

ภาพวงจร
 ทดลองต่อ ทดสอบการใช้งาน

วันเสาร์ที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2559

กำหนดการสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ประจำปี 2559


ประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์และกำหนดสอบเพื่อรับประกาศนียบัตรพนักงานวิทยุสมัครเล่นขั้นสูง ประจำปี 2559
สอบวันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2559 เวลา 10.00 - 12.00 น. ณ อาคารหอประชุม สำนักงาน.กสทช. 

สมาคมวิทยุสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้รับมอบหมายจาก สำนักงาน กสทช. ให้เป็นผู้ประสานงานในการรับสมัคร 

กำหนดการขายใบสมัคร ทางสมาคมฯ จะแจ้งให้ทราบ ในโอกาสต่อไป 
ติดตามข่าวสารจากทางสมาคมได้ทาง http://www.rast.or.th  ,  Facebook  , Line #RAST , ความถี่ 144.9375 MHz, 7.128 MHz

วันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

มาสร้าง เครื่องวัด LC Meter ใช้กัน

หลังจากไม่ได้ทำชิ้นงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง กับการเป็นนักวิทยุสมัครเล่นมาหลายวัน เนื่องจากงานประจำที่มีเข้ามาค่อนข้างที่จะรัดตัว ชิ้นงานหลายๆอย่างที่เตรียมไว้ ก็ยังไม่มีเวลาที่จะสานต่อ ได้แต่จัดหามาแล้วก็วางกองไว้ เหมือนกับชุดเครื่องวัด LC Meter ชุดนี้
Ref: ต้นแบบ : https://sites.google.com/site/vk3bhr/home/index2-html

เครื่องวัด LC Meter เป็นเครื่องมือชิ้นหนึ่งที่ถือว่ามีความจำเป็นในอันดับต้นๆ ของนักวิทยุที่ชอบประดิษฐ์สิ่งของต่างๆ ไว้ใช้เอง (ค่า L ค่า C  คืออะไร ทำไมต้องวัด ต้องลองหาข้อมูลเพิ่มเติมกันดูครับ)
รายการอุปกรณ์
ภาพวงจร
By: VK3BHR
ข้อมูลจำเพาะ PIC 16F628
ที่มา: http://www.piclist.com/images/www/hobby_elec/e_pic6_c4.htm
งานชิ้นนี้ ตั้งใจจะใช้แผ่นปริ้นแบบเอนกประสงค์ ซึ่งดูรายละเอียดของวงจรในภาพข้างต้นแล้ว สำหรับมือใหม่อย่าง E22RBV เองคงต้องใช้ความพยายามในการทำความรู้จักกับอุปกรณ์แต่ละตัวอยู่ไม่น้อยทีเดียว คงต้องเดือนร้อนไปถึงท่านที่ปรึกษาอีกตามเคย
เขียนคำสั่งโปรแกรม ใส่ IC : PIC 16F628






Link: โค๊ดโปรแกรม สำหรับเขียนใส่ PIC 16F628

อุปกรณ์อีกตัวหนึ่ง ที่พึ่งได้เจอกับชิ้นงานนี้เป็นครั้งแรก คือตัวที่อยู่ใน ตำแหน่ง RY1 5V N/O ของวงจร
Reed Switch Relay (5V Relay SIP-1A05)
เริ่มต้นด้วยการทดลองวางอุปกรณ์ 
(หากมีเวลาก็ควรจะออกแบบเอาไว้ก่อน)


ชิ้นงานนี้ กับการพยายามประกอบอุปกรณ์ต่างๆ ลงบนแผ่นปริ้นท์เอนกประสงค์ของ E22RBV ถือว่าล้มเหลว  ไม่ประสบความสำเร็จ เพราะจัดหาอุปกรณ์อะไหล่ผิดพลาดไปจากวงจรที่ให้มา

เริ่มต้นกับชิ้นงานนี้ใหม่ ซึ่งได้รับความอนุเคราะห์อะไหล่บางรายการที่ค่อนข้างหายาก จากพี่ E20MIO