รองรับ 5-120 Watts
|
Calibrating the instrument |
หลังจากศึกษาข้อมูลจากต้นแบบเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จากนั้นก็จะเป็นการจัดหา รวบรวมอุปกรณ์ทั้งหมด รวมถึงชุดเครื่องมือต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ โดยส่วนตัวแล้วโครงการนี้ทำให้ได้รับความรู้ที่เพิ่มขึ้นค่อนข้างมากทีเดียว เช่นการดูค่าอะไหล่ต่างๆจากวงจรต้นแบบ จัดหาอะไหล่ ลงโปรแกรมใน IC (PIC16F876) สั่งทำแผ่น PCB เป็นต้น
|
รายการอุปกรณ์ทั้งหมด |
|
PCB ส่วนที่ 1 |
|
PCB ส่วนที่ 2 |
|
เริ่มประกอบอะไหล่โดยเริ่มจากตัวเตี้ยๆก่อน |
|
แผ่น PCB ที่จะใช้ยึด SO-239 |
แผ่น PCB ที่ใช้ยึดขั้ว SO-239 จะต้องเจาะรูให้มีขนาดใหญ่พอที่จะวางขั้วได้พอดี ในส่วนนี้จะต้องใช้ฝีไม้ลายมือ ความปราณีตในการเจาะกันนิดหน่อยซึ่งสำหรับผู้ที่ไม่มีเครื่องมือจริงๆก็สามารถใช้กรรไกรเก่าๆ (ส่วนตัวแอบขโมยของแม่บ้านมาทั้งๆที่ตอนแรกมันยังใช้การได้ดีอยู่นั้นแหล่ะ) ใช้เจาะและค่อยๆกว้านออกทีละนิดๆจนให้ได้ขนาดความกว้างตามต้องการ
ตามแบบใช้ลวดทองแดงขนาดเล็กพันแกน FT50-43 จำนวน 35 รอบ สำหรับกำลังส่ง 5-120 วัตต์ แต่ในที่นี้จะทดลองพันเพียง 31 รอบ เพื่อให้รองรับกับกำลังส่งที่น้อยกว่า 5 วัตต์ แต่จะน้อยกว่าแค่ไหนนั้น คงต้องมาดูกันอีกทีหนึ่ง ในขั้นตอนของการทดสอบการใช้งาน
|
ใช้ลวดทองแดงขนาดเล็ก พันรอบแกน FT50-43 |
|
ภาพประกอบอุปกรณ์ในส่วนที่ 1 |
|
ภาพประกอบอุปกรณ์ในส่วนที่ 2 |
ทดลองปล่อยไฟ 9 V เข้าวงจร |
Project Homebrew BY E29THF
Good job!
ตอบลบ