เครื่องวิทยุสื่อสารโดยปกติทั่วๆไปจะใช้ไฟแรงดันไฟอยู่ที่ 13.8VDC เครื่องจ่ายไฟบางยี่ห้อบางรุ่นก็อาจจะมีวงจรที่ป้องกันไฟเกินเอาไว้แล้ว แต่เครื่องบางรุ่นก็อาจจะไม่มี การหาอะไรมาป้องกันไว้ก่อนก็อาจจะเป็นผลดีในภายหลังก็เป็นได้
รายการอุปกรณ์ |
อุปกรณ์ค่อนข้างน้อยชิ้น คงไม่ยุ่งยากสำหรับนักประดิษฐ นักทดลองมือใหม่มากนัก ใช้รีเลย์รองรับกระแสสูงขนาด 30 แอมป์ (omron G8P-1A4TP) ตัวต้านทาน 12 ohm/5W เมื่อแรงดันที่จ่ายออกมาจากแหล่งจ่ายไฟเกิน 15VDC วงจรก็จะทำงาน ด้วยการตัดกระแสไฟก่อนที่เครื่องวิทยุสื่อสารตัวโปรดของพวกเราจะเสียหายได้
รูป ตำแหน่งการวางอุปกรณ์บนแผ่น PCB |
วิธีการใส่อุปกรณ์ลงบนแผ่น PCB ก็มีหลักการง่ายๆเหมือนเดิมคือ วางตัวอะไหล่ที่เตี้ยๆก่อน ไดโอด คาปาซิเตอร์ (แบบตัวตั้ง) ต้องใส่ให้ถูกด้าน เท่านี้ก็เพียงพอแล้วครับ
ทีนี้ก็มาทดลองประสิทธิภาพการทำงานของการวงจรกัน ซึ่งหลักการก็จะมีอยู่ว่า ใช้เครื่องจ่ายที่จ่ายแรงดันไฟฟ้าได้มากกว่า 15 V ส่งกระแสผ่านอุปกรณ์แปลงไฟที่สามารถปรับแรงดันไฟเพิ่มขึ้นหรือลดลงได้ ซึ่งในที่นี้เราจะเลือกปรับจากแรงดันน้อยไปหามาก ส่งกระแสไปยังตัวป้องกันไฟเกินที่พึ่งประกอบเสร็จ ดังภาพด้านบน แล้วจ่ายไฟต่อไปยังอุปกรณ์ใดอุปกรณ์หนึ่งที่สามารถชี้วัดได้อย่างชัดเจนว่าเมื่อมีแรงดันไฟเข้ามากกว่า 15 V ตัวป้องกันไฟเกินจะเริ่มทำงานทันที
แต่เนื่องจากแหล่งจ่ายไฟที่มีอยู่ 2 ตัว สามารถจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้มากสุดอยู่ที่ 13.5 V และอีกตัวได้ที่ 14 V เท่านั้น จึงจำเป็นที่ต้องดัดแปลงอุปกรณ์เพิ่มเติมเล็กน้อย โดยเลือกใช้ Switching ให้ปล่อยแรงดันต่ำสุดที่ 9 V ต่ออนุกรมกับแบตเตอร์รี่ 12 V ทีนี้ก็จะได้แหล่งจ่ายไฟชุดใหม่ ที่จ่ายได้ถึง 21 V พร้อมนำมาใช้ในการทดสอบวงจรกัน
ภาพการต่อ อุปกรณ์ชุดต่างๆที่จะใช้ในการทดสอบ |Ref: HS8JYX |
จับใส่กล่อง รวมกับชุดจ่ายกระแสไฟ DC ให้กับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ |
ไม่มีความคิดเห็น:
ไม่อนุญาตให้มีความคิดเห็นใหม่